VURC High Stakes: Head-to-Head
ในขณะที่หลายวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย มีชุดหุ่นยนต์ VEX V5 system ในสถานศึกษาของตนเอง ผนวกกับการมีความรู้และทักษะในการผลิตขึ้นรูปชิ้นงานหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเมชชีนนิ่งด้วยเครื่องมือต่างๆ การพิมพ์ 3 มิติ สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานที่นักศึกษาศาสตร์ทางวิศวกรรมต้องเรียนรู้และฝึกฝนเป็นประจำอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นการแข่งขัน VEXU การแข่งขันที่แต่ละทีมงัดกลยุทธวิธีการต่างๆมาเพื่อใช้ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้กติกา VURC High Stakes
สนามการแข่งขันหุ่นยนต์ VURC High Stakes จะมีขนาด 12 x 12 ฟุต เท่ากับสนามการแข่งขัน VEX V5 Robotics Competition High Stakes จะต่างกันตรงที่ VURC High Stakes จะต้องทำการติดตั้ง VEX GPS code strip เข้าไปบริเวณรอบขอบสนาม และมีรูปแบบการจัดวาง Rings และ Mobile Goals ที่แตกต่างกัน การจัดวางอุปกรณ์สนาม VURC High Stakes ดังภาพข้างต้น
รูปแบบการแข่งขัน VURC High Stakes จะต่างจาก V5RC High Stakes ที่เปลี่ยนจาก 1 ฝั่ง ประกอบไปด้วย 2 ทีม เป็น 1 ฝั่ง มี 1 ทีม แต่จะต้องสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา 2 ที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อลงแข่งขัน (แต่ละทีมสามารถสร้างหุ่นยนต์ได้หลายตัว แต่สามารถนำลงสนามการแข่งขันได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น) ระยะเวลาในการทำภารกิจจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาการแข่งขันการทำงานของหุ่นยนต์โดยอัตโนมัติ 30 วินาที หลังจากนั้นเป็นเวลา 1 นาที 30 วินาที ผู้แข่งขันจึงจะสามารถบังคับควบคุมหุ่นยนต์เพื่อทำภารกิจด้วยตนเองได้
ภาพรวมของสมาชิกในการแข่งขัน
สมาชิกที่เข้าร่วมการแข่งขัน VEX U ทุกคน จะต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย หรือศึกษาอยู่ในระดับชั้นอาชีวศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาแล้วในช่วงเวลา 6 เดือน ก่อนการแข่งขัน VEX Robotics World Championship 2025
สมาชิกที่เข้าร่วมการแข่งขันในทีมใด จะต้องสังกัดทีมนั้นจนจบฤดูการแข่งขัน ห้ามทำการเปลี่ยนทีมไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้น
ภาพรวมของสนามในการแข่งขัน
สนามการแข่งขัน VEX U Robotics Competition High Stakes ประกอบไปด้วย
5 Mobile Goals แต่ละอันสามารถทำได้ 1 Stake
4 Stake ที่อยู่ติดขอบสนาม ซึ่งจะแบ่งเป็น Stake ของฝั่งสีแดง Stake ของฝั่งสีน้ำเงิน และ 2 Stake ส่วนกลาง
1 Ladder ที่มี 3 ขั้น และชั้นบนสุดมี 1 Stake
48 Ring แบ่งเป็น สีแดง 24 ชิ้น และ สีน้ำเงิน 24 ชิ้น
4 Corner แบ่งเป็น 2 สำหรับให้แต้มคะแนนบวก และ 2 สำหรับให้แต้มคะแนนลบ
จากภาพจะเป็นการแสดงการจัดวาง mobile Goal และ Ring ทั้ง 2 สี สีละ 22 ชิ้นในสนาม อีกสีละ 2 ชิ้น เป็น Preload ในหุ่นยนต์แต่ละตัวก่อนเริ่มแข่งขัน โดยที่ตำแหน่งการเริ่มต้นของหุ่นยนต์ให้สัมผัสหรืออยู่ภายในเส้นสีขาวทางยาวที่อยู่ใกล้กับฝั่งตนเอง
ภาพรวมของการคิดคะแนนในการแข่งขัน
หมายเหตุ การคิดคะแนนทั้งหมดจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการแข่งขันแล้ว 5 วินาที ยกเว้นคะแนนจาก Autonomous Bonus ที่จะคิดทันทีหลังจากจบช่วงเวลาการทำงานอัตโนมัติ 15 วินาทีของหุ่นยนต์
การคิดคะแนนจาก Stake จะคิดจาก
Ring สีนั้นๆไม่ได้สัมผัสกับหุ่นยนต์ที่มีสีเดียวกันกับ Ring
Ring ไม่สัมผัสกับพื้นสีเทาของสนามการแข่งขัน
Ring วนล้อมรอบไปกับเสาของ Stake
Ring มีจำนวนไม่เกินที่กำหนดในแต่ละ Stake ตามตารางด้านล่าง ถ้าหากเกินกรรมการจะนำส่วนที่เกินออก
ตัวอย่างการคิดคะแนนจากการวาง Mobile Goal ในต่ำแหน่ง Negative Corner
การพิจารณาการวาง Mobile Goal ในมุมบวกหรือมุมลบ มีเกณฑ์ดังต่อไปนี้
Mobile Goal ต้องสัมผัสกับพื้นสนาม หรือเทปสีขาวที่มุมสนาม
ส่วนที่เป็นยางบางส่วนของ Mobile Goal อยู่สูงกว่าขอบสนามการแข่งขัน
Mobile Goal ต้องอยู่ภายในพื้นที่เทปสีขาวตรงมุมเข้าไป
สามารถใส่ Mobile Goal เข้าไปในแต่ละมุมได้เพียง 1 อันเท่านั้น ถ้าหากมีมากกว่า 1 อันให้พิจารณาว่าอันใดอยู่เข้าไปในมุมลึกกว่า ดังในรูป แต่ถ้าหากไม่สามารถพิจารณาได้จะถือว่าไม่มี Mobile Goal อันใดอยู่ในมุมนั้นๆ
คำอธิบายเพิ่มเติมในการปีนบันไดของหุ่นยนต์เพื่อให้ได้คะแนนตาม Level ต่างๆ
หุ่นยนต์จะสัมผัสกับบันไดหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องสัมผัสกับหุ่นยนต์ของฝ่ายเดียวกันในกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับบันได ในกรณีนี้หุ่นยนต์ตัวนั้นจะได้คะแนน 2 เท่าในการปีน Level นั้นๆ
หุ่นยนต์ต้องไม่สัมผัสกับพื้นสนามหรืออุปกรณ์สนาม
หุ่นยนต์ต้องไม่สัมผัสกับ Mobile Goals
หุ่นยนต์จะได้รับคะแนนในแต่ละ Level หากสามารถยกตัวเองให้ได้พ้นผ่านจุดที่กำหนด เช่น Level 1 ไม่สัมผัสพื้น Level 2 สามารถยกตัวเองจนพ้นเลยขอบของ Level 1 และ Level 3 คือ สามารถยกตัวเองจนพ้นเลยขอบของ Level 2 ตัวอย่างจากในรูปด้านล่างแสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์สามารถยึดจับได้ที่ Level 2 แต่ไม่สามารถยกตัวเองให้พ้นผ่าน Level 1 ได้ ยังมีส่วนที่สัมผัสกับ Level 1 อยู่ทำให้ได้คะแนน 3 เท่านั้น
การได้รับแต้มพิเศษ Autonomous Win Point ทำได้ในช่วงเวลาการทำงานของหุ่นยนต์อัตโนมัติโดยฝั่งที่สามารถทำต่อข้อกำหนดต่อไปนี้ได้จะได้แต้มในส่วนนี้
ทำคะแนนจาก Ring ได้อย่างน้อย 3 อัน
สามารถนำ Ring ไปใส่ไว้ใน Stake ได้อย่างน้อย 2 เสา
หุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวในฝั่งตนเองต้องไม่สัมผัส หรือ ผ่านเข้าไปในเส้นแสดงจุดเริ่มต้น
หุ่นยนต์ของฝั่งตนเอง 1 ตัวสัมผัสกับ Ladder
ภาพรวมของหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมต้องสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา 2 ตัวเพื่อทำการแข่งขัน โดยมีข้อกำหนดตามนี้
หุ่นยนต์ 24 นิ้ว หมายถึง หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นต้องมีขนาดก่อนเริ่มต้นการแข่งขันขนาดกว้าง ยาวไม่เกิน และสูงไม่เกิน 24 นิ้ว x 24 นิ้ว x 24 นิ้ว และตลอดการแข่งขันหุ่นยนต์จะไม่สามารถขยายร่างให้มากกว่า 24 นิ้วได้ในแนวระนาบ แต่สามารถขยายร่างเพื่อเพิ่มความสูงได้ ไม่เกิน 32 นิ้ว หรือ ความสูงไม่เกินขอบ Level 2 ของ Ladder ในสนามแข่งขัน
หุ่นยนต์ 15 นิ้ว หมายถึง หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นต้องมีขนาดก่อนเริ่มต้นการแข่งขันขนาดกว้าง ยาวไม่เกิน และสูงไม่เกิน 15 นิ้ว x 15 นิ้ว x 15 นิ้ว แต่หลังจากเริ่มต้นแข่งขันแล้วหุ่นยนต์หุ่นยนต์สามารถขยายร่างในแนวระนาบได้ไม่เกิน 24 นิ้ว x 15 นิ้ว และสามารถขยายร่างเพื่อเพิ่มความสูงได้ ไม่เกิน 32 นิ้ว หรือ ความสูงไม่เกินขอบ Level 2 ของ Ladder ในสนามแข่งขัน
โครงสร้างหุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวสามารถใช้ชิ้นส่วนจาก VEX Robotics ได้ทุกชนิด
โครงสร้างหุ่นยนต์สามารถถูกสร้างขึ้นจาก Raw Material ได้และต้องถูกสร้างขึ้นมาด้วยสมาชิกภายในทีมเองเท่านั้น ไม่อนุญาติให้ใช้ชิ้นส่วนที่มีขายสำเร็จรูปแล้วมาสร้างเป็นหุ่นยนต์
อนุญาติให้ใช้สลัก สกรู สปริง ลูกปืน หนังยาง ที่มีขายตามท้องสตลาดได้
หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องใช้ V5 Robot Brain เป็นส่วนควบคุมหลักของหุ่นยนต์เท่านั้น และอนุญาติให้มี Brain ได้เพียง 1 ตัว และใช้ V5 Robot Battery เพียง 1 ก้อนเท่านั้น เฟริมแวร์ที่ใช้ใน Brain ต้องเป็นเวอร์ชั่น 1.1.3 หรือใหม่กว่า
สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเซนเซอร์ได้อย่างไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ แต่อุปกรณ์เหล่านั้นต้องสามารถเชื่อมต่อกับ V5 Robot Brain หรือ ผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์แล้วเชื่อมต่อกับ V5 Robot Brain ได้
ไม่จำกัดจำนวนมอเตอร์ที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์แต่ต้องเป็น V5 Smart Motors (11W) [276-4840] หรือ EXP Smart Motors (5.5W) [276-4842] เท่านั้น และห้ามการดัดแปลงใดๆกับมอเตอร์ทั้งสิ้น ยกเว้นการเปลี่ยน official/unmodified gear cartridges
สามารถใช้อุปกรณ์ Pneumatics ได้อย่างไม่จำกัดชนิด ยี่ห้อ และจำนวน โดยมีข้อกำหนดเพียงว่า
อุปกรณ์ Pneumatics ที่ใช้ต้องรองรับและใช้แรงดันไม่เกิน 100 psi
ห้ามติดตั้งปั้มอากาศบนตัวของหุ่นยนต์
ห้ามทำการปรับแต่งอุปกรณ์ Pneumatics เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างแข่งขัน
VURC High Stakes: Robot Skills
การทดสอบ Robot Skills จะเป็นการให้ผู้เข้าแข่งขันใช้หุ่นยนต์ของตนเองทั้ง 2 ตัวในการทำคะแนนให้ได้มากที่สุดในระยะเวลา 1 นาที โดยจะมีการทดสอบอยู่ 2 ประเภทคือ Driving Skills Matches คือให้ผู้เข้าแข่งขันบังคับควบคุมหุ่นยนต์ด้วยตนเอง และ Autonomous Coding Skills Matches คือให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำภารกิจโดยอัตโนมัติ ในแต่ละประเภทผู้แข่งขันสามารถทดสอบได้ทั้งหมด 3 ครั้ง แล้วนำคะแนนที่ดีที่สุดในการแข่งขันแต่ละประเภทมารวมกันเพื่อทำการจัดอันดับ
การทดสอบ Robot Skills จะมีรูปแบบการจัดสนามที่เปลี่ยนไปจากการแข่งขันแบบ Head-to-Head VEX U Robotics Competition High Stakes เล็กน้อยโดยจะมีส่วนที่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งการวาง Ring และ Mobile Goals ดังรูปด้านล่าง
ภาพรวมของการแข่งขัน Robot Skills Challenge
กติกาส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากการแข่งขันแบบ Head-to-Head VEX V5 Robotics Competition High Stakes
เมื่อเปิดสนามแข่งขันทีมใดมาถึงสนามก่อนจะเป็นทีมที่ได้ทำการทดสอบก่อน 1 รอบ แต่ละทีมสามารถทำการทดสอบได้ 3 ครั้งในแต่ละประเภทกล่าวคือ Driving Skills Match 3 ครั้ง และ Autonomous Coding Skills Match 3 ครั้ง
ตำแหน่งเริ่มต้นการทำงานของหุ่นยนต์อ้างอิงได้จากการแข่งขันแบบ Head-to-Head VEX V5 Robotics Competition High Stakes แต่ไม่มี Preload Ring
ไม่มีขั้นตอนพิเศษในการคิดคะแนนเมื่อนำ Mobile Goal ไปใส่ไว้ใน Corner แต่จะบวกคะแนนพิเศษ 5 คะแนนถ้าหากสามารถนำ Mobile Goal ไปใส่ไว้ใน Corner ได้ (ช่องละ 1 อันเท่านั้น)
เกี่ยวกับการคิดคะแนนของ Ring สีแดง และ Ring สีน้ำเงิน จะคิดคะแนนของ Ring สีน้ำเงิน ก็ต่อเมื่อ
Ring สีแดงทั้งหมดถูกนำไปทำคะแนนบน Stake แล้ว
มี Ring สีแดงอย่างน้อย 1 อัน ใต้ Ring สีน้ำเงิน ที่ถูกใส่ใน Stake
ห้ามให้ Ring สีแดงอยู่บน Ring สีน้ำเงิน
ตารางสรุปคะแนนที่สามารถทำได้ใน Robot Skills Challenge
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกติกาการแข่งขัน VEX Robotics
สามารถศึกษากติกาอย่างละเอียดเกี่ยวกับการแข่งขัน VEX Robotics ทั้ง Rapid Relay และ High Stakes ได้โดยคลิกที่รูปโลโก้การแข่งขันที่ต้องการ