ข้อกำหนดของหุ่นยนต์
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้หุ่นยนต์ VEX IQ เป็นส่วนควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ในการเข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น โดยไม่จำกัดอุปกรณ์ที่ใช้ในการบังคับควบคุมหุ่นยนต์
อนุญาตให้ใช้ VEX IQ Brain 1 ชิ้น และ VEX IQ Battery 1 ชิ้น ในการสร้างหุ่นยนต์เท่านั้น
อนุญาตให้ใช้มอเตอร์ VEX IQ Smart Motor ได้ไม่เกิน 6 ตัวเท่านั้น
อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ VEX IQ Sensor โดยที่ไม่จำกัดรูปแบบและจำนวน
อนุญาตให้ใช้ VEX IQ Pneumatics ได้โดยมีข้อกำหนดว่า
อนุญาติให้ใช้ VEX IQ Air Compressor ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น
อนุญาติให้ใช้ VEX IQ Air Tank ได้ไม่เกิน 2 ถัง
ไม่จำกัดจำนวนการใช้ VEX IQ Air Cylinder
สามารถใช้ชิ้นส่วนจากสายการผลิตของ VEX GO และ VEX IQ มาใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ได้ทั้งหมด
ขนาดของหุ่นยนต์ควรมีขนาดไม่เกินกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ทั้งนี้ควรออกแบบหุ่นยนต์ให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างราบรื่น ทั้งการผ่านพื้นที่แคบขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร และคานอุโมงค์สูง
หุ่นยนต์สามารถขยายร่างได้อย่างไม่จำกัดเมื่อเริ่มต้นการแข่งขันแล้ว
อนุญาตให้นำวัสดุประเภทกระดาษมาใช้ในการสร้างและตกแต่งหุ่นยนต์ได้โดยจะมีข้อกำหนดดังนี้
ขนาดของชิ้นส่วนที่นำมาใช้ต้องอยู่ในพื้นที่ขนาดกว้าง 21 เซนติเมตร ยาว 29.7 เซนติเมตร หรือขนาดของกระดาษ A4
ความหนาของกระดาษห้ามเกิน 1 มิลลิเมตร ไม่จำกัดในเรื่องของความแข็งแรงของกระดาษ
การยึดติดวัสดุที่ทำมาจากกระดาษอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะชิ้นส่วนจากสายการผลิตของ VEX GO และ VEX IQ เท่านั้น
ไม่อนุญาตให้นำวัสดุประเภทกระดาษ มาดัดแปลงเป็นโครงสร้างทรงลูกบาศน์ อนุญาติให้ใช้ในลักษณะของแผ่นชีทที่โค้ง ดัด พับ งอ ได้เพียงเท่านั้น
สามารถตกแต่งหุ่นยนต์ได้อย่างอิสระ บนวัสดุกระดาษที่ยึดติดลงบนหุ่นยนต์
ข้อกำหนดของผู้เข้าแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันต้องมีอายุอยู่ในช่วง 12-20 ปี (นับจากปีเกิดช่วง ค.ศ. 2005-2013)
จำนวนสมาชิกภายในทีม 1-3 คน ต่อทีม
ไม่อนุญาตให้ผู้ใหญ่ทำการช่วยเหลือใดๆ เกี่ยวกับการตกแต่งหุ่นยนต์ และการเขียนโปรแกรม ถ้าหากเกิดการสอบสวนพบว่ามีการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่จะถูกตัดสิทธิการแข่งขันในทีมนั้นๆ
ไม่อนุญาตให้นำชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์มีคมต่างๆ เข้ามาในบริเวณการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเตรียมชิ้นส่วนมาให้เรียบร้อยก่อนเข้าร่วมแข่งขัน ถ้าหากทีมงานพบเจออุปกรณ์มีคมต่างๆ จะทำการยึด
กำหนดการอบรมและแข่งขัน
สถานที่: The Tara CPALL ชั้น B1 https://maps.app.goo.gl/Dxqp1StKSbVppPH98
วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2568 :
10:00 น – 12:00 น อธิบายกติการการแข่งขัน Project Nautilus รายการต่างๆพร้อมตอบข้อสงสัยในกติกาการแข่งขัน
13:00 น – 18:00 น เปิดสนามการแข่งขัน Project Nautilus รายการต่างๆ ให้ทดลอง และทำการฝึกซ้อม
วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 :
8:00 น – 9:00 น กล่าวเปิดการแข่งขัน ความเป็นมาของ Project Nautilus และแนะนำทีมทางผู้จัดการแข่งขัน
7:00 น – 9:00 น ลงทะเบียนทีมเข้าร่วมการแข่งขัน
9:00 น – 11:00 น เปิดสนามให้ทำการทดสอบ และฝึกซ้อม ในช่วงเช้า
11:00 น – 12:00 น ทำการเก็บคะแนนการแข่งขันในรอบที่ 1
13:00 น – 14:00 น เปิดสนามให้ทำการทดสอบ และฝึกซ้อม ในช่วงบ่าย
14:00 น – 15:00 น ทำการเก็บคะแนนการแข่งขันในรอบที่ 2
15:30 น – 16:30 น พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงานการแข่งขัน Project Nautilus
สถานที่การอบรมและจัดการแข่งขัน : THE TARA CP ALL ชั้น B1
รางวัลการแข่งขัน
รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัลรางวัลชนะเลิศ พร้อมแผ่นประกาศเกรียติคุณ และเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับแผ่นประกาศเกรียติคุณ และเกียรติบัตรรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับแผ่นประกาศเกรียติคุณ และเกียรติบัตรรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
รางวัลการออกแบบหุ่นยนต์ ได้รับแผ่นประกาศเกรียติคุณ และเกียรติบัตร Best Design
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกทีมจะได้รับเกรียติบัตรในการเข้าร่วมโดยมีเกณฑ์การได้รับดังต่อไปนี้
ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ตั้งแต่ 80% ของคะแนนเต็มขึ้นไปจะได้รับ Gold Performance Award
ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ 50%-79% ของคะแนนเต็มจะได้รับ Silver Performance Award
ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ 30%-49% ของคะแนนเต็มจะได้รับ Bronze Performance Award
ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ต่ำกว่า 30% ของคะแนนเต็มจะได้รับ Participation Award
ติดต่อสอบถาม คลิก https://bit.ly/3DJGEfl
การปฏิบัติภารกิจ
ภาพสนามการแข่งขัน Project Nautilus: Deepsea Miner ที่ได้แบ่งพื้นที่ทำภารกิจหลักออกเป็น 3 จุด จุดที่ 1 Deploy Station เป็นจุดปล่อยตัวของหุ่นยนต์ และจุดนำส่งทรัพยากรแร่ธาตุ (ลูกปิงปองสีขาว) จุดที่ 2 Mining Rig เป็นแท่นขุดทรัพยากร มีด้วยกัน ทั้งหมด 2 จุด แต่ละจุดจะสุ่มการใส่ทรัพยากร (ลูกปิงปอง) ไว้แท่นขุดละ 5 ลูก จุดที่ 3 Extraction Plant เป็นโรงสกัดพลังงานที่หุ่นยนต์จะต้องนำเอาทรัพยากรพลังงาน (ลูกปิงปองสีส้ม) มาใส่เอาไว้จุดละ 1 ลูก
1. การแข่งขันจะทำการแข่งขันด้วยกันทั้งหมด 2 รอบ โดยที่รอบที่ 1 จะเป็นการแข่งขันเก็บคะแนนหุ่นยนต์ทำภารกิจด้วย การบังคับด้วยรีโมทคอนโทรลเลอร์ และการแข่งขันรอบที่ 2 จะเป็นการแข่งขันเก็บคะแนนหุ่นยนต์ทำภารกิจด้วยการ เขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นทั้ง 2 รอบ จะนำคะแนนมารวมกันเพื่อนำไปใช้ใน การตัดสินจัดอันดับ
2. ก่อนเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละรอบกรรมการจะเรียกเก็บหุ่นยนต์ของทุกทีม ถ้าหากทีมใดไม่นำหุ่นยนต์มาส่งในช่วงเวลา ดังกล่าวจะถูกการตัดสิทธิ์การแข่งขันในรอบนั้นๆ
3. ระยะเวลาในการทำภารกิจทั้งหมด 2 นาที ก่อนเริ่มปฏิบัติภารกิจกรรมการจะให้เวลาในการตรวจสอบความพร้อมของหุ่นยนต์ไม่เกิน 1 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้ว กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มต้นการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจึงจะสามารถบังคับควบคุมหุ่นยนต์แต่ละตัวออกจาก Deploy Station เพื่อไปปฏิบัติภารกิจได้เก็บเกี่ยวทรัพยากรจาก Mining Rig ได้
การเริ่มต้นของหุ่นยนต์ในพื้นที่ Deploy Station โดยที่หุ่นยนต์จะต้องไม่มีส่วนใดเลยออกมานอกพื้นที่สีน้ำเงิน
4. Mining Rig จะเป็นการจำลองแท่นขุดเจาะและเก็บเกี่ยวทรัพยากร ในการแข่งขันนี้จะเป็นการนำชิ้นส่วนพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ VEX IQ มาประกอบให้เป็นกลไกในการกักเก็บ และปล่อยลูกปิงปอง โดยที่ Mining Rig 1 แท่น จะบรรจุลูกปิงปองลงไป 5 ลูก โดยการสุ่มสี ในการแข่งขันจะมีลูกปิงปองสีขาวทั้งหมด 5 ลูก และสีส้มทั้งหมด 5 ลูก การนำทรัพยากรออกมาจากแท่นขุดสามารถปฏิบัติได้โดยการควบคุมให้หุ่นยนต์วิ่งเข้ามาชนกลไกที่แท่นขุดจากนั้นลูกปิงปองก็จะตกออกมาทีละ 1 ลูกจากลูกด้านล่างไปยังลูกด้านบน
ภาพ Mining Rig ทั้ง 2 จุด ที่มีการสุ่มใส่ลูกปิงปอง (เส้นผ่านศุนย์กลาง 40 มิลลิเมตร) ไว้จำนวน 5 ลูก ต่อ 1 แท่นขุด โดยการสุ่มนั้นจะมี ลูกปิงปองสีขาวทั้งหมด 5 ลูก และสีส้มทั้งหมด 5 ลูก การนำทรัพยากรออกมาจากแท่นขุดสามารถปฏิบัติได้โดยการควบคุมให้หุ่นยนต์วิ่งเข้ามาชนกลไกที่แท่นขุดจากนั้นลูกปิงปองก็จะตกออกมาทีละ 1 ลูก
5. เมื่อหุ่นยนต์สามารถเก็บเกี่ยวทรัพยากรได้แล้วจึงจะเป็นขั้นตอนการคัดแยกทรัพยากรแล้วนำทรัพยากรนั้นไปส่งให้ตรงตามภารกิจ ได้แก่ ลูกปิงปองสีส้มนำไปใส่ไว้ใน Extraction Plant แต่ละอัน ส่วนลูกปิงปองสีขาวนำกลับไปไว้ใน Deploy Station โดยที่การคิดคะแนนถ้าหากสามารถใส่ลูกปิงปองได้ตรงตามภารกิจจะได้คะแนนลูกละ 2 คะแนน แต่ถ้าหากสีลูกปิงปองไม่ตรงจะได้ลูกละ 1 คะแนน
ภาพการนำทรัพยากรพลังงาน (ลูกปิงปองสีส้ม) ไปใส่ไว้ใน Extraction Plant โดยที่ลูกปิงปองต้องสัมผัสกับแผ่นชิ้นส่วนสีเขียวที่อยู่ใน Extraction Plant จึงจะถือว่าได้รับคะแนน
6. ลูกปิงปองสีส้มที่นำไปใส่ไว้ใน Extraction Plant จะต้องสัมผัสกับแผ่นชิ้นส่วนสีเขียวที่อยู่ใน Extraction Plant จึงจะถือว่าได้รับคะแนน ในขณะที่ลูกปิงปองสีขาวที่นำกลับไปยัง Deploy Station นั้นขอให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกปิงปองอยู่ในพื้นที่ระนาบแนบตั้งของ Deploy Station จะถือว่าได้รับคะแนนลูกปิงปองนั้นๆ
7. ในการทำภารกิจถ้าหากทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถปฏิบัติภารกิจได้เสร็จสิ้นก่อนหมดเวลา ให้ส่งสัญญาณบอกกรรมการว่า “หยุดเวลา” กรรมการจะทำการหยุดเวลาก็ต่อเมื่อหุ่นยนต์หยุดการเคลื่อน หรือหุ่นยนต์ไม่อยู่ในสภาวะที่สามารถปฏิบัติภารกิจต่อได้แล้ว
8. ในระหว่างดำเนินการแข่งขันรอบการบังคับหุ่นยนต์ด้วยรีโมทคอนโทรลเลอร์ ห้ามผู้เข้าแข่งขันสัมผัสกับหุ่นยนต์ และอุปกรณ์สนามต่างๆ ในขณะที่ทำภารกิจไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
9. ในระหว่างดำเนินการแข่งขันรอบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอ Retry ได้อย่างไม่จำกัดภายในระยะการแข่งขัน 2 นาที แต่จะมีการบันทึกจำนวนการขอ Retry เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินในกรณีที่ คะแนน และเวลาในการแข่งขันเท่ากัน
10. การ Retry ในรอบการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเอาหุ่นยนต์มาเริ่มภายใน Deploy Station เสมอ และลูกปิงปองที่ไม่ได้บรรจุอยู่ใน Extraction Plant ทั้งหมดจะถูกนำกลับไปบรรจุกลับเข้าไปใน Mining Rig แบบไม่ต้องสุ่ม แต่จะสามารถบรรจุเข้าไปได้ไม่เกิน 5 ลูก ต่อ Mining Rig ในการบรรจุลูกปิงปองนี้ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง
11. การนับคะแนนจะเกิดขึ้นหลังจากหมดเวลา 2 นาทีแล้ว และหุ่นยนต์หยุดการเคลื่อน หรือหุ่นยนต์ไม่อยู่ในสภาวะที่สามารถปฏิบัติภารกิจต่อได้แล้ว ถ้าหากครบเวลา 2 นาทีแล้วแต่หุ่นยนต์ยังสามารถทำภารกิจจนได้รับคะแนนกรรมการจะทำการตัดคะแนนส่วนนั้นออก
12. ตารางสรุปคะแนน Project Nautilus: Deepsea Miner