ข้อกำหนดของหุ่นยนต์


ข้อกำหนดของผู้เข้าแข่งขัน


กำหนดการอบรมและแข่งขัน

สถานที่: The Tara CPALL ชั้น B1  https://maps.app.goo.gl/Dxqp1StKSbVppPH98

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2568 :

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 :

สถานที่การอบรมและจัดการแข่งขัน : THE TARA CP ALL ชั้น B1


รางวัลการแข่งขัน

- ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ตั้งแต่ 80% ของคะแนนเต็มขึ้นไปจะได้รับ Gold Performance Award

- ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ 50%-79% ของคะแนนเต็มจะได้รับ Silver Performance Award

- ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ 30%-49% ของคะแนนเต็มจะได้รับ Bronze Performance Award

- ทีมที่สามารถทำคะแนนการแข่งขันได้ต่ำกว่า 30% ของคะแนนเต็มจะได้รับ Participation Award


ติดต่อสอบถาม คลิก https://bit.ly/41Fi47n

การปฏิบัติภารกิจ

ภาพสนามการแข่งขัน Project Nautilus: Deepsea Salvation ที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 Zone ได้แก่ Deploy Zone คือ

จุดเริ่มต้นในการปฏิบัติงานของหุ่นยนต์ และเป็นจุดนำส่งผู้ประสบภัย Capture Zone คือจุดที่หุ่นยนต์จับแล้วนำสัตว์ร้ายมาขัง

เอาไว้ และ Rescue Area เป็นพื้นที่ที่หุ่นยนต์เข้าไปปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจับสัตว์ร้าย

1. การแข่งขันจะแข่งขันเป็นคู่ทีละ 2 ทีม ผ่านการจับคู่ด้วยระบบ ในตอนเริ่มแข่งขันให้คู่พันธมิตรตกลงตำแหน่งเริ่มต้น

การทำงานของหุ่นยนต์ว่าจะอยู่ Deploy Zone ฝั่งใด โดยที่หุ่นยนต์แต่ละตัวต้องเริ่มต้นในพื้นที่สีเขียวห้ามมีส่วนใด

ของหุ่นยนต์เลยออกมาด้านนอก

ภาพการเริ่มต้นของหุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวในพื้นที่ Deploy Zone ที่หุ่นยนต์แต่ละตัวจะไม่มีส่วนใดเลยออกมานอกพื้นที่สีเขียว

2. ก่อนเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละรอบกรรมการจะเรียกเก็บหุ่นยนต์ของทุกทีม ถ้าหากทีมใดไม่นำหุ่นยนต์มาส่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะถูกการตัดสิทธิ์การแข่งขันในรอบนั้นๆ

3. การแข่งขันจะมีด้วยกัน 2 รอบ โดยนำคะแนนรอบที่ดีที่สุดมาตัดสิน ถ้าหากผู้เข้าแข่งขัน แข่งขันจนมีลำดับที่เท่ากันจะเป็นการได้รับตำแหน่งนั้นๆร่วมกัน

4. ระยะเวลาในการทำภารกิจทั้งหมด 2 นาที ก่อนเริ่มปฏิบัติภารกิจกรรมการจะให้เวลาคู่พันธมิตรวางแผนในการทำภารกิจไม่เกิน 1 นาที เมื่อตกลงแผนกันเสร็จสิ้น กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มต้นการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจึงจะสามารถบังคับควบคุมหุ่นยนต์แต่ละตัวออกจาก Deploy Zone ไปยัง Rescue Area ได้

5. ในพื้นที่ Rescue Area จะมีแผ่น Disk แกนเหล็กอยู่ 3 แบบ สีเขียวคือผู้ประสบภัยไม่ร้ายแรง 4 แผ่นต่อพื้นที่ สีฟ้าคือผู้ประสบภัยรุนแรง 2 แผ่นต่อพื้นที่ และสีแดงคือสัตว์ร้าย 2 แผ่นต่อพื้นที่ โดย Disk ทั้งหมดจะถูกทำการวางแบบสุ่มก่อนเริ่มต้นการแข่งขันสำหรับทุกแมทซ์ในรอบนั้นๆ

ภาพตัวตำแหน่งการวาง Disk และการสุ่มสีในแต่ละพื้นที่ โดยที่แต่ละพื้นที่จะมี สีเขียว 4 แผ่น สีฟ้า 2 แผ่น สีแดง 2 แผ่น

6. สำหรับ Disk สีเขียว และ สีฟ้า ผู้เข้าแข่งขันต้องนำกลับมาให้ส่วนใดของ Disk ก็ได้ให้อยู่ใน Deploy Zone ได้ทั้ง 2 ฝั่ง ไม่เกี่ยงความสูงระหว่าง Disk กับพื้นผิว โดยที่การคิดคะแนน Disk สีเขียว มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน และ Disk สีฟ้า มีค่าเท่ากับ 2 คะแนน

7. สำหรับ Disk สีแดง ผู้เข้าแข่งขันต้องนำไปวางไว้ให้สัมผัสกับ Capture Zone (พื้นที่สีแดง) ได้ทั้ง 2 ฝั่ง ไม่เกี่ยงความสูงระหว่าง Disk กับพื้นผิว โดยที่การคิดคะแนน Disk สีแดงถ้าหากสามารถนำไปวางไว้ให้สัมผัสกับ Capture Zone ได้จะมีค่าเท่ากับ 2 คะแนนต่อ 1 Disk แต่ถ้าหากมี Disk สีแดงที่ไม่ได้วางไว้ให้สัมผัสกับ Capture Zone จะถูกลบ 2 คะแนนต่อ 1 Disk การลบคะแนนจะไม่ลบต่ำกว่า 0 คะแนน

ภาพการวาง Disk สีแดงไว้ให้สัมผัสกับ Capture Zone (โซนสีแดง) ไม่ว่าจะฝั่งใด จะได้รับ 2 คะแนน ต่อ 1 Disk แต่ถ้าหากมี Disk สีแดง ที่ไม่สัมผัสกับ Capture Zone (โซนสีแดง) จะถูกหักคะแนน 2 คะแนน ต่อ 1 Disk

8. ก่อนหมดเวลา 2 นาที ถ้าหากหุ่นยนต์สามารถกลับมาจอดใน Deploy Zone (โซนสีเขียว) ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่มีส่วนใดของหุ่นยื่นออกมานอก Deploy Zone (โซนสีเขียว) จะได้รับคะแนนพิเศษ 3 คะแนน ต่อหุ่นยนต์ 1 ตัว การคิดคะแนนการจอดจะคิดก็ต่อเมื่อหุ่นยนต์ทำคะแนนส่วนอื่นๆได้อย่างน้อย 1 คะแนน

9. ในระหว่างดำเนินการแข่งขัน ห้ามผู้เข้าแข่งขันสัมผัสกับหุ่นยนต์ และอุปกรณ์สนามต่างๆ ในขณะที่ทำภารกิจไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

10. การนับคะแนนจะเกิดขึ้นหลังจากหมดเวลา 2 นาทีแล้ว ไม่มีการขอหยุดเวลาในระหว่างทำภารกิจเสร็จหรือกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่

11. ตารางสรุปคะแนน Project Nautilus: Deepsea Salvation

สนามการแข่งขัน  Project Nautilus: Deepsea Salvation