Nautilus Camp VEX 123: Deepsea Challenger
คอร์สปูพื้นฐานด้านหุ่นยนต์และการเขียนโค้ด VEX 123 หลักสูตร 3 วัน สำหรับผู้เริ่มต้นตั้งแต่ การเขียนโปรแกรมผ่าน touch buttons coding ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมแบบบัตรคำสั่ง (Card Programming) เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ผ่านภารกิจสนุก ๆ เช่น Twilight, Dark Zone และ Deepsea Challenger และได้พัฒนาโค้ดด้วย VEXcode 123 (Block Coding) พร้อมฝึกแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะผ่านกิจกรรมที่ท้าทายและสร้างสรรค์
วันที่: 19-21 มีนาคม 2568
สถานที่: ALL Robotics อาคาร Siamscape ชั้น 9 https://maps.app.goo.gl/gwx2v58NCV2eu8Zb7
ติดต่อสอบถามหรือสมัครเรียน คลิก https://bit.ly/3XOjonl
โปรแกรมการเรียนการสอน
DAY1
10:30-11:00 Introduce VEX123 Robot
11:00-12:00 Coding with the Touch Buttons
12:00-13:00 Lunch
13:00-13:30 Start diving to the Twilight Mission (Touch Programming)
13:30-14:30 Using the VEX Coder
DAY2
10:30-11:00 VEX Coder Card Reference Guide
11:00-12:00 Break through Dark Zone Mission (VEX Coder Programming)
12:00-13:00 Lunch
13:00-13:30 Discovery the Trench Mission (VEX Coder Programming)
13:30-14:30 Using the VEXcode 123
DAY3
10:30-11:00 VEXcode 123 Block Coding Explorer
11:00-12:00 Break through Dark Zone Mission (Block Programming)
12:00-13:00 Lunch
13:00-13:30 Discovery the Trench Mission (Block Programming)
13:30-14:30 Deepsea Challenger Mission
ความเป็นมาของภารกิจ
โครงการ Deepsea Challenger เป็นโครงการที่มีชื่อเสียงซึ่งมี James Cameron ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังเป็นผู้นำในการสำรวจ จุดมุ่งหมายหลักของโครงการคือการสำรวจ "Challenger Deep" ซึ่งเป็นจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรมาเรียนาเทรนช์ การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรณีวิทยา สิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณที่ลึกที่สุดของโลก
โครงการ Deepsea Challenger เป็นภารกิจสำรวจใต้ทะเลลึกที่มีวัตถุประสงค์หลากหลายมิติ ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา และเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายหลักดังนี้
1. การสำรวจทางวิทยาศาสตร์
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ: สำรวจและศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงของทะเลลึก ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักอีกมาก เพื่อทำความเข้าใจระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
การศึกษาธรณีวิทยา: วิเคราะห์โครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นทะเลลึก เช่น รอยแยก เปลือกโลก และภูเขาใต้ทะเล เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และอาจนำไปสู่การค้นพบแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ
การศึกษาเคมีสมุทร: ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเลลึก ซึ่งอาจมีผลต่อสภาพอากาศและสิ่งมีชีวิตในทะเล
2. การพัฒนาเทคโนโลยี
การพัฒนาหุ่นยนต์ใต้น้ำ: สร้างและพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการทนต่อแรงกดดันสูง สภาพแวดล้อมที่มืดมิด และอุณหภูมิที่เย็นจัด เพื่อใช้ในการสำรวจ
การพัฒนาเซ็นเซอร์และอุปกรณ์: พัฒนาเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงของทะเลลึก
3. การสร้างแรงบันดาลใจ
การสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน: จุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ให้กับเยาวชน
การสร้างความตระหนัก: สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของมหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในทะเล เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
4. ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
การค้นพบแหล่งทรัพยากร: ค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อาจมีอยู่ในทะเลลึก เช่น แร่ธาตุและพลังงาน
การพัฒนาอุตสาหกรรม: กระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมเซ็นเซอร์ และอุตสาหกรรมการสำรวจ
ภาพรวมภารกิจ
Deepsea Challenger เป็นภารกิจการแข่งขันหุ่นยนต์สำหรับเด็กภายใต้โครงการ Project Nautilus ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์และการแก้ปัญหา โดยใช้หุ่นยนต์ VEX123 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายและเหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ภารกิจนี้จะจำลองสถานการณ์การสำรวจใต้ทะเลลึก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้หลักการทำงานของหุ่นยนต์ใต้น้ำ การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ และการใช้เซ็นเซอร์เพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมใต้น้ำ
Deepsea Challenger ยังส่งเสริมการเรียนรู้ STEAM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์) อย่างสนุกสนานและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัล การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้เข้าร่วมจะได้ฝึกฝนการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์ VEX123 ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมแบบบล็อก (block-based programming) ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับเด็กๆ ในการเริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรม
ภาพรวมของภารกิจคือผู้เข้าแข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ VEX123 ให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด โดยอาศัยการทำงานร่วมกับเซนเซอร์ต่างๆในหุ่นยนต์ ซึ่งในภารกิจจะแบ่งโซนการทำภารกิจเป็นโซนต่างๆดังนี้
1. The Sunlight Zone (Epipelagic Zone):
ความลึก: 0-200 เมตร (0-656 ฟุต)
แสงแดด: เขตนี้ได้รับแสงแดดมากที่สุด จึงเป็นเขตที่มีชีวิตชีวาและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในมหาสมุทร
สิ่งมีชีวิต: เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น แพลงก์ตอนพืช (ซึ่งเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหาร) แพลงก์ตอนสัตว์ ปลาหลากหลายชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (เช่น โลมาและวาฬ) และนกทะเล แนวปะการัง ป่าสาหร่าย และสิ่งมีชีวิตคุ้นเคยอื่น ๆ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตนี้
2. The Twilight Zone (Mesopelagic Zone):
ความลึก: 200-1,000 เมตร (656-3,281 ฟุต)
แสงแดด: แสงแดดส่องลงมาถึงเขตนี้เพียงเล็กน้อย ทำให้มีแสงสลัวคล้ายแสงสนธยา
สิ่งมีชีวิต: สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนี้มีลักษณะพิเศษที่ช่วยให้พวกมันอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย หลายชนิดมีแสงเรืองแสงในตัวเอง ซึ่งใช้สำหรับล่าเหยื่อ ดึงดูดคู่ หรือป้องกันตัว ปลาแองเกลอร์ ปลาขวาน และปลาหมึกหลายชนิดเป็นตัวอย่างของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนี้ สัตว์หลายชนิดจะอพยพขึ้นสู่ผิวน้ำในเวลากลางคืนเพื่อหาอาหาร
3. The Midnight Zone (Bathypelagic Zone):
ความลึก: 1,000-4,000 เมตร (3,281-13,123 ฟุต)
แสงแดด: ไม่มีแสงแดดส่องลงมาถึงเขตนี้ ทำให้มืดสนิท เย็นจัด และอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาล
สิ่งมีชีวิต: สิ่งมีชีวิตในเขตนี้มีน้อยและแปลกประหลาด สัตว์มักจะมีดวงตาขนาดใหญ่ (เพื่อจับแสงสลัว ๆ) หรือตาบอด หลายชนิดมีแสงเรืองแสงในตัวเอง พวกมันมักจะกิน "หิมะทะเล" (สารอินทรีย์ที่ลอยลงมาจากเขตด้านบน) หรือล่าเหยื่อซึ่งกันและกัน ปลาไหลกัลเปอร์และปลาหมึกแวมไพร์เป็นตัวอย่างของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตนี้
4. The Abyssal Zone (Abyssopelagic Zone):
ความลึก: 4,000-6,000 เมตร (13,123-19,685 ฟุต)
แสงแดด: มืดสนิท มีแรงกดดันมหาศาล และอุณหภูมิใกล้จุดเยือกแข็ง
สิ่งมีชีวิต: สิ่งมีชีวิตในเขตนี้หายากและมีความพิเศษสูง สัตว์มักจะตาบอด สีซีด และเคลื่อนที่ช้า พวกมันมักจะพึ่งพาการสังเคราะห์ทางเคมี (การผลิตพลังงานจากสารเคมี) มากกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสง ตัวอย่างเช่น ปลาแองเกลอร์ทะเลลึกและปลิงทะเล
5. The Trenches (Hadal Zone):
ความลึก: ต่ำกว่า 6,000 เมตร (19,685 ฟุต) พบในร่องลึกใต้ทะเล
แสงแดด: มืดสนิท มีแรงกดดันมากที่สุด และอุณหภูมิเย็นจัด
สิ่งมีชีวิต: เขตนี้เป็นส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตที่นี่มีความพิเศษอย่างยิ่งในการอยู่รอดในสภาวะที่รุนแรง สัตว์มักจะมีขนาดเล็ก และหลายชนิดเป็นสัตว์กินของเน่าหรือเศษอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น หอยทากใต้ทะเลลึกและแบคทีเรียบางชนิด ร่องลึกมาเรียนา ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอยู่ในเขตนี้
การปฏิบัติภารกิจ
ภาพสนามการแข่งขัน Project Nautilus: Deepsea Challenger
เริ่มต้นการแข่งขันโดยวางให้ส่วนล้อของหุ่นยนต์อยู่บน The Sunlight Zone
เริ่มต้นการแข่งขันผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องวางหุ่นยนต์ VEX123 ในบริเวณ โดยวางให้ส่วนล้อของหุ่นยนต์อยู่บน The Sunlight Zone
ให้ผู้แข่งขันควบคุมหุ่นยนต์ผ่านการเขียนโปรแกรมให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางจาก The Sunlight Zone ไปยัง The Twilight Zone
ภาพภารกิจจาก The Sunlight Zone ไปยัง The Twilight Zone ที่หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ
3. จาก The Twilight Zone ไปยัง The Midnight Zone , The Abyssal Zone และ The Trenches จะเป็นการสุ่มช่องทางผ่านไปยังส่วนที่ไกลขึ้นแต่ละส่วนก่อนการทำการแข่งขัน ส่วนที่ผ่านไปได้จะมีพื้นที่น้ำเงินเข้มอยู่ที่ทางเข้า และส่วนที่ผ่านไปไม่ได้จะมีกำแพงวางกั้นเอาไว้ ผู้แข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาช่องทางดังกล่าวเพื่อผ่านเข้าไป
ภาพภารกิจจาก The Twilight Zone ไปยัง The Midnight Zone , The Abyssal Zone และ The Trenches
ที่หุ่นยนต์จะต้องค้นหาช่องทางเพื่อผ่านเข้าไปยังส่วนที่ไกลขึ้น
4. ในส่วนของ The Trenches ไปจนถึงพื้นมหาสมุทร ผู้แข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังเส้นทางที่ได้กำหนดให้ เพื่อผ่านไปยังภารกิจสุดท้ายคือ การเก็บตัวอย่างทรัพยากร
5. ในส่วนของพื้นมหาสมุทร ผู้แข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อคัดเลือกทรัพยากร ซึ่งในส่วนของทรัพยากรทั้ง 4 ชิ้นที่บริเวณพื้นมหาสมุทรนั้นจะถูกสุ่มเป็น 2 สี คือ สีม่วง 2 ชิ้น และสีส้ม 2 ชิ้น โดยที่หุ่นยนต์จะต้องชนทรัพยากรสีม่วงให้ตกออกมานอกสนาม จะได้ชิ้นละ 10 คะแนน แต่ถ้าหากชนสีส้มออกมาจะถูกลบคะแนน 10 คะแนนต่อสีส้ม 1 ชิ้น
ภาพภารกิจในส่วนของ The Trenches และ พื้นมหาสมุทรที่หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ผ่านตามเส้นทางที่กำหนด
เพื่อไปคัดเลือกทรัพยากรที่ถูกสุ่มวางเอาไว้ทั้งสีม่วง และสีส้ม
6. เมื่อสามารถชนทรัพยากรไม่ว่าจะสีใดออกนอกสนามได้อย่างน้อย 1 ชิ้น ให้เขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่กลับขึ้นมายัง The Sunlight Zone เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจ
7. ในระหว่างการทำภารกิจถ้าหากหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ผ่านโซนต่างๆ ได้ (The Twilight Zone, The Midnight Zone, The Abyssal Zone และ The Trenches) ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้โซนที่ผ่านมาเป็นจุด Checkpoint ในการ Retry เพื่อเริ่มต้นการทำงานของหุ่นยนต์ได้ตลอดเวลา โดยการวางหุ่นยนต์จะต้องวางให้ส่วนของล้อที่สัมผัสกับพื้นอยู่บนโซนนั้นๆ
8. ในส่วนของโซนพื้นมหาสมุทร ผู้เข้าแข่งขันจะ Retry ได้ก็ต่อเมื่อสามารถชนทรัพยากรสีใดสีหนึ่งอย่างน้อย 1 ชิ้น ออกนอกสนาม แล้วทำการบันทึกคะแนนทรัพยากรที่เก็บได้ก่อน (ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคะแนนที่ได้จาก ทรัพยากรได้อีก) จึงจะสามารถทำการ Checkpoint ได้ในบริเวณโซนพื้นมหาสมุทร
ภาพแสดงจุด Checkpoint ที่หุ่นยนต์สามารถ Retry ได้เมื่อไปถึง ในส่วนการ Retry บริเวณพื้นมหาสมุทรผู้เข้าแข่งขัน
จำเป็นต้องจัดการกับทรัพยากรให้ได้อย่างน้อย 1 ชิ้นไม่ว่าจะสีใดก็ตามแล้วยืนยันการรับคะแนนที่ได้รับก่อน
9. คะแนนที่ได้จากการทำภารกิจจะขึ้นอยู่กับระยะทางที่หุ่นยนต์เคลื่อนที่ลงไปยังพื้นมหาสมุทรโดยจะคิดเป็นช่องตามภาพ
ภาพแสดงจำนวนคะแนนที่จะได้รับหลังจากที่หุ่นยนต์เคลื่อนที่ลงไปยังพื้นมหาสมุทร
10. ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถจัดการกับทรัพยากรใต้พื้นมหาสุมทรได้อย่างน้อย 1 ชิ้นไม่ว่าจะสีใด จะสามารถเดินทางกลับขึ้นมาได้ โดยมีคะแนนเดินทางขากลับคิดเป็นช่องตามภาพ
ภาพแสดงจำนวนคะแนนที่จะได้รับหลังจากที่หุ่นยนต์เคลื่อนที่จากพื้นมหาสมุทรขึ้นมายัง The Sunlight Zone
11. ระยะเวลาในการปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 3 นาที ไม่สามารถขอหยุดเวลาได้ถ้าหากไม่สามารถกลับสู่ The Sunlight Zone ได้สำเร็จ และการนับคะแนนจะเกิดขึ้นหลังจากหมดเวลาการแข่งขันแล้ว ยกเว้นคะแนนจากการเก็บทรัพยากรที่จะบันทึกหลังจากหุ่นยนต์เดินทางกลับสู่ The Sunlight Zone
12. การแข่งขันจะทำการแข่งขันพร้อมกันทีละ 2 สนาม โดยที่จะเรียกแข่งทีละ 2 ทีมจากรายชื่อบนลงล่างในรอบที่ 1 และเรียกแข่งทีละ 2 ทีมจากรายชื่อล่างขึ้นไปบนในรอบที่ 2 โดยที่จะคิดคะแนนจากรอบที่ผู้เข้าแข่งขันทำได้สูงที่สุดมาทำการตัดสิน
13. ในระหว่างการแข่งขันผู้เข้าร่วมการแข่งขันสามารถทำการแก้ไขโปรแกรมได้ตลอดเวลาภายใต้เงื่อนไขกรอบเวลา 3 นาที และการเริ่มต้นที่จุด Checkpoint
14. ผู้เข้าแข่งขันสามารถทำการ Retry ได้อย่างไม่จำกัด แต่จะถูกบันทึกจำนวนการ Retry ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเท่ากันจะตรวจเช็คจากระยะเวลาในการทำภารกิจ และ จำนวนการ Retry รูปแบบการ Retry ผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มหุ่นยนต์ได้จากจุด Checkpoint ที่เดินทางมาถึง หรือผ่านมาแล้ว หรือพื้นสมุทรหลังจากที่จัดการกับทรัพยากรได้แล้ว
15. ตารางสรุปคะแนน Project Nautilus: Deepsea Challenger